Thursday, July 9, 2015

Activity-Based Management (ABM)


ABM   เป็นแนวทางมุ่งการจัดการต่อกิจกรรม เพื่อการปรับปรุงมูลค่าที่ส่งมอบสู่ลูกค้าและสร้างผลกำไรให้กับผู้ส่งมอบ การดำเนิน ABM จึงรวมถึงการวิเคราะห์ตัวผลักดันต้นทุน การวิเคราะห์กิจกรรม และการวัดผลการปฏิบัติการ ABM จะถูกใช้สำหรับการติดตามค่าโสหุ้ยและต้นทุนทางอ้อมที่เกิดจากกิจกรรมที่เกี่ยวข้องให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการ

ABM คือ การบริหารโดยเน้นกิจกรรม โดยพยายามลดกิจกรรมที่ไม่มีคุณค่า หรือไม่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นให้กับองค์การและพยายามส่งเสริมกิจกรรมที่มีคุณค่า หรือสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้นให้กับองค์การให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 

ประโยชน์ของABM
   1.  ลดต้นทุน
   2.  ผู้ปฏิบัติการมีความกระตือรือร้น
   3.  เพิ่มประสิทธิภาพ (Productivity)ทั้งด้านการผลิตและบุคลากร
   4.  มอง Interaction ระหว่างหน่วยงาน
   5.  ใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจของผู้บริหารได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
   6.  เกิดประโยชน์ต่อการบริหารงานและบริหารงบประมาณของหน่วยงาน
   7.  เกิด Cost Allocation ที่ถูกต้องมากยิ่งขึ้น

 ตัวอย่างการใช้ ABM สำหรับธุรกิจค้าปลีก

ABM เป็นกลยุทธ์เชิงรุก (Proactive Strategic) และการตัดสินใจในการปฏิบัติการ (Operation Decision) บนฐานสารสนเทศกิจกรรมและประเมินมูลค่าเพิ่มของเนื้องานในกระบวนการธุรกิจ สำหรับธุรกิจค้าปลีก ABM จะช่วยให้ผู้ค้าปลีกสามารถประเมินค่าใช้จ่ายการออกใบเสร็จ ค่าใช้จ่ายของการจัดวางสินค้า ค่าใช้จ่ายคลังสินค้า และค่าโสหุ้ยการจัดเก็บสินค้า ซึ่งสารสนเทศเหล่านี้ จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถ

1.การจัดทำเกณฑ์สมรรถนะ (Performance Criteria) สำหรับผู้ส่งมอบ
2.ให้คำแนะนำผู้ส่งมอบในแนวทางเลือกของแหล่งจัดหาหรือการส่งมอบสินค้า
3.ลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้า
4.สะท้อนค่าใช้จ่ายทางธุรกรรม (Transaction Cost) อย่างถูกต้อง สำหรับการส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้า
5.แนะนำผู้ส่งมอบในการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา: https://www.gotoknow.org/questions/11993

No comments:

Post a Comment