Thursday, July 9, 2015

การผลิตแบบลีน ( lean manufacturing )

การผลิตแบบลีน ( lean manufacturing ) คือ การใช้หลักการชุดหนึ่งในการระบุและกำจัดความสูญเปล่า เพื่อส่งมอบสินค้าที่ลูกค้าต้องการ และทันเวลา หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ลีน คือ ปรัชญาในการผลิต ซึ่งถือว่าความสูญเปล่านั้น เป็นตัวทำให้เวลาที่ใช้ในการผลิตยาวนานขึ้น และควรมีการนำเทคนิคต่างๆ มาใช้ในการกำจัดความสูญเปล่าออกไป[1] โดยมุ่งเน้นกำจัดความสูญเสีย ( Waste/Muda ) ทั้ง 7 ประการ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการทำงาน ได้แก่


  • การเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น ( Unnecessary Motion )
  • การรอคอย ( Idle Time/Delay )
  • กระบวนการที่ขาดประสิทธิผล ( Non-effective Process )
  • การผลิตของเสียและแก้ไขงานเสีย ( Defects and Reworks )
  • การผลิตมากเกินไป ( Overproduction )
  • การเก็บวัตถุดิบคงคลังที่ไม่จำเป็น ( Unnecessary Stock )
  • การขนส่ง ( Transportation )


   แนวความคิดแบบลีนความจริงไม่ใช่ของใหม่ถอดด้ามที่ญี่ปุ่นคิดขึ้นมาเองล้วนๆ ซึ่งก็คงเหมือนอีกหลายๆระบบที่ต่อยอดมาจากสิ่งที่มีคนอื่นคิดหรือ ทำไว้แล้ว มีการพูดกันว่าญี่ปุ่นนั้นเป็นนักเลียนแบบชั้นยอด ผมค่อนข้างจะเห็นด้วย ผมถือว่าเป็นวิธีการที่ชาญฉลาดสุดๆ คุณไม่ต้องไปเสียเวลาคิดขึ้นมาใหม่ เอาที่เขาทำไว้แล้วมาพัฒนา ต่อยอดคิดเพิ่มเติมเข้าไป ซึ่งคุณก็ต้องมีสมองชั้นเยี่ยม ปรับปรุงให้เข้ากับวัฒนธรรมในส่วนดีที่เรามีอยู่ (ผมเน้นว่าในส่วนดี เพราะวัฒนธรรมส่วนที่ไม่ดีก็เห็นมีอยู่มาก เช่นความฟุ้งเฟ้อ ชอบสบาย ไม่ชอบคิด เชื่อในสิ่งที่ไม่เป็นเรื่อง เชื่อมันไปเสียหมดที่ได้เห็น หรือได้ยินมา  ชอบ แต่บันเทิง เป็นต้น) ญี่ปุ่นเขาเป็นแบบนี้ครับ ไม่ได้ลอกเฉยๆ แต่เอามาคิดต่อยอด ญี่ปุ่นถึงได้พัฒนาแซงหน้าประเทศอื่นมากมาย อะไรที่ดีๆหลุดไปที่ญี่ปุ่น เป็นเสร็จหมด ญี่ปุ่นจะพัฒนาแล้วแซงล้ำหน้าไปโดยที่ต้นตอไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ

          เรื่องลีนก็เช่นกัน ญี่ปุ่นไปดูมาจาก Ford ของอเมริกา ซึ่ง Ford ในตอนนั้นพัฒนาระบบการผลิตแบบสายพานลำเลียง เอาชนะขาดจน General lean3Motors ที่เป็นคู่แข่งในช่วงนั้นแทบตั้งตัวไม่ติดด้วยรถรุ่น Model T  กลุ่มญี่ปุ่นที่ไปดูตัวหลักคือโตโยต้าครับ โดยมีหัวหอกสำคัญคือ ไอจิ โตโยดะ  (Eiji Toyoda) และไทอิจิ โอโน่ (Taiichi Ohno) (สำหรับท่านไอจิ โตโยดะ ผมได้เขียนถึงท่านไว้บ้างแล้ว
ในหนังสือ “111กูรู บริหารจัดการอุตสาหกรรมโลก”) จะสังเกตได้ว่าระบบของฝรั่งนั้นโดยทั่วไปจะเน้นการผลิตปริมาณมาก 
(Mass Production) ซึ่ง Ford ก็ใช้แนวทางนี้ แต่ตอนที่ญี่ปุ่นเอาเรื่องนี้มาพัฒนาใหม่ๆ ไม่สามารถทำได้ เพราะติดขัดปัญหหลายประการ จึงต้องดัดแปลงให้เหมาะสม ดัดไปดัดมากลายเป็นเหนือกว่าต้นตอเดิมครับ

         มีเรื่องของหลักการที่สำคัญ 5 หลักการ ที่ระบบ TPS หรือ Lean นี้ให้ไว้และมีระบุอยู่ให้หลายๆแห่ง ก็อยากนำมานำเสนอ
ในที่นี้ด้วยคือ

1. Specify Value เน้นการระบุคุณค่าของสินค้าในมุมมองของลูกค้าเท่านั้น คือลูกค้ามองคุณค่าของสินค้านี้อย่างไร ก็ให้นำเอาคุณค่านั้นมาเป็นคุณค่าของสินค้าขององค์กร มองแบบนี้ระบบสมัยใหม่ของฝรั่งมีมาก่อน เขาเรียกว่า Outside In ไม่ใช่มากำหนดคุณค่าเอาเองแล้วก็นำเสนอให้ลูกค้า ที่เรียกว่า InsideOut ที่ชอบทำๆกัน ซึ่งผมเรียกวิธีการนี้ว่า “ยัดเยียด” ที่มีให้เห็นมากมายทั้งสินค้าและบริการ แล้วมันจะทำให้ลูกค้าพึงพอใจได้อย่างไร ปัญหาจึงอยู่ที่ว่า ทำอย่างไรจึงจะรู้คุณค่านี้ได้

2. Identify The Value Stream - ระบุเส้นทางคุณค่าของสินค้า TPS มองว่าการที่จะพัฒนาระบบได้ต้องพัฒนาเป็นองค์รวม แล้วต้องสร้างมูลค่าเพิ่มในทุกขั้นตอนของระบบ คุณค่าของสินค้าเริ่มต้นจากลูกค้าในข้อ 1 เข้าสู่กระบวนการผลิตสินค้าที่ต้องเพิ่มมูลค่านั้นให้สูงขึ้นไป ดังนั้นก่อนเริ่มการผลิตต้องมีการ ระบุเส้นทางที่มูลค่าจะเพิ่มไว้ แล้ววางแผนไว้อย่างดี ให้ได้ว่าทุกกระบวนการต้องสร้างมูลค่าเพิ่ม

3. Flow หรือ การไหลของกระบวนการ TPS มองว่า การไหลต้องไม่ติดขัด มองได้เหมือนน้ำที่ไหลในท่อที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางภายในเท่ากันตลอด

4. Pull หรือ การดึง เป็นการนำแนวความคิดมาใช้กับระบบโลจิสติคส์ของการผลิต คือจะใช้วัสดุ หรือวัตถุดิบเมื่อต้องการเท่านั้น จะไม่มีการสต็อคให้สิ้นเปลืองไปเปล่าๆ จะใช้ก็ต้องดึงเอามาครับ ที่จะให้ดึงก็ต้องมีของพร้อมให้ดึง ตรงนี้คือ JIT เต็มตัว

5. Perfection หรือความสมบูรณ์แบบ หลักการนี้เน้นความสมบูรณ์แบบของทุกเส้นทางที่มีการไหลตามข้อ 3 เทียบเท่าระบบ TQM

          นอกจากหลักการดังกล่าวแล้วยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่จะว่าเป็นหลักการ หรือเป็นองค์ประกอบของลีนก็ว่าได้นั่นคือ Lean House การนำเสนอของญี่ปุ่นมักชอบใช้สไตล์นี้ครับคือมองทุกอย่างเป็นบ้าน คุณจึงเคยเห็น บ้าน TQM หรือ บ้าน  5ส หรือบ้านอะไรต่างๆของระบบงาน นี่ก็เหมือนกัน

  • Stability – ความมั่นคง พื้นฐานต้องดี รากฐานดี มั่นคง ในที่นี้เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต หรือ intrinsic technology ต้องยอด แล้วควรเสริมด้วยกิจกรรม   
  • 5ส
  • Reduction in Mudas – ลดความสูญเสีย รากฐานดียังไม่พอ ต้องลดความสูญเสียด้วย ก็ 7 wastes นั่นเอง
  • Kaizen – ไคเซ็น จะต้องเสริมด้วยการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
  • Heijunha ความหมายก็คือ Sequencing ซึ่งหมายถึงกระบวนการที่ต่อเนื่อง เกี่ยวข้องกับการสร้างคุณค่าที่ต่อเนื่อง
  • Standard Working – การทำงานที่เป็นมาตรฐาน คงไม่ต้องพูดอะไรมาก คือต้องมีมาตรฐานการทำงานนั่นเอง แล้วก็ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานด้วย
  • Pull Flows – กระบวนการป้อนวัคถุดิบ หรือชิ้นส่วนต่างๆเป็นระบบ Pull หรือ ดึง ที่มีการไหลอย่างต่อเนื่องไม่ติดขัด
  • Takt time – อ่านว่า แท็คไทม์ ไม่ต้องไปเปิด dic เพราะไม่มี เนื่องจากไม่ใช่ภาษาอังกฤษ แต่นิยมเอามาใช้กันในระบบคุณภาพ แปลตามศัพท์เดิมว่า “รอบเวลาของการวัด” แต่ในระบบคุณภาพหมายถึง “เวลามากที่สุดที่พนักงานสามารถใช้ในการผลิตชิ้นงาน เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าให้ได้ ทันท่วงที” หากเป็น Cycle Time คุณคงจะคุ้นเคย ซึ่งหมายถึงรอบเวลาในการผลิต แต่ takt time ไม่เหมือน cycle time

         สูตรของ takt time คือ เวลาทำงานปกติสุทธิใน 1 วัน / จำนวนชิ้นงานที่ต้องการต่อวัน ค่านี้จะเป็นตัวชี้วัดตัวหนึ่งที่จำเป็น  man-machine separation หมายถึงระบบกึ่งอัตโนมัคิที่มีคนกับเครื่องจักรทำงานด้วยกัน

        Jidoka เป็นเสาหลักที่สำคัญตัวหนึ่งของ lean ระบบ TPS ยกความสำคัญให้เท่ากับ JIT คำนี้ใช้ในภาษาอังกฤษว่าAutonomation หมายถึงระบบ กึ่งอัตโนมัติที่มีระบบป้องกันความผิดพลาด หากเกิดความผิดพลาดไม่ว่ากรณีใดๆ เครื่องจักรจะหยุดทันที ระบบ แบบนี้จะคล้ายกับ poka-yoke ครับ


ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki


1 comment:

  1. The Le_Meridian Funding Service went above and beyond their requirements to assist me with my loan which i used expand my pharmacy business,They were friendly, professional, and absolute gems to work with.I will recommend  anyone looking for loan to contact. Email..lfdsloans@lemeridianfds.com  Or lfdsloans@outlook.com.WhatsApp ... + 19893943740.

    ReplyDelete