QC STORY
" ขั้นตอนในการแก้ไขปัญหาภายใต้เงื่อนไขการพัฒนาบุคลากรให้เข้าใจถึงหลักการในการบริหารโครงการด้วยวงจร P-D-C-A "
ความหมาย QC Story คือขั้นตอนในการแก้ไขปัญหาภายใต้เงื่อนไขการพัฒนาบุคลากรให้เข้าใจถึงหลักการในการบริหารโครงการด้วยวงจร P-D-C-A โดยมีขั้นตอน 7 ประการ
7 ขั้นตอนการแก้ปัญหาตามแนวทางคิวซีสตอรี่ (QC Story)
- การกำหนดหัวข้อปัญหา
- การสำรวจสภาพปัจจุบันและตั้งเป้าหมาย P
- การวางแผนแก้ไข
- การวิเคราะห์สาเหตุ
- การกำหนดมาตรการตอบโต้และการปฏิบัติ D
- การติดตามผล C
- การทำให้เป็นมาตรฐาน A
ขั้นตอน 7 ประการ ประกอบด้วย
1. Plan and Problem definition : การกำหนดหัวข้อปัญหา จะได้มาจากการกำหนดแนวคิดของกลุ่ม เพื่อกำหนดความคาดหมายของลูกค้า สำหรับเป้าหมายคุณภาพ เมื่อได้ปัญหามา ให้นำไปวิเคราะห์ด้วยหน้าต่างปัญหาของโฮโซตานิ เพื่อเลือกปัญหาประเภท A (ปัญหาที่ไม่ทราบสาเหตุและมาตรการแก้ไข เพื่อกำหนดหัวข้อปัญหาต่อไป)
2. Data and Detail : การสำรวจเพื่อหาข้อมูล /เพื่อหาลักษณะจำเพาะ โดยใช้คำถาม what where when who How Why การเลือกปัญหาจะเลือกบนพื้นฐานทั้ง 3 ประการ คือ
- ความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหา
3. Analysis : การวิเคราะห์สาเหตุ/สรุปมาเป็นแผนงาน เป็นการนำโครงการที่วิเคราะห์และแก้ปัญหาโดยอาศัยการสังเกตการณ์ที่ได้แสดงผลลงในแผนภูมิของแกนท์ ซึ่งแผนภูมินี้นอกจากจะใช้วางแผนแล้ว ยังสามารถใช้เฝ้าพินิจเพื่อควบคุมโครงการด้วย
4. Action : ทำตามแผนงาน/ตามเป้าหมาย/เก็บผลที่ได้ ดำเนินการดังนี้กำหนดสมมุติฐานของสาเหตุ โดยผ่าน การระดมสมอง จาก สมาชิกในกลุ่ม
- ทำการ รวบรวมข้อมูลสำหรับการพิสูจน์หาข้อเท็จจริง โดยอย่าลืมแยกแยะสาเหตุ จากการปฏิบัติงานและการควบคุม
- ในการระดมสมองผ่านการสังเกตการณ์จากหลักการ 3 จริง คือ สถานที่เกิดเหตุจริง (Genba) สภาพแวดล้อมจริง (Genjitsu) และของจริง (Genbusu)
- เครื่องมือที่ใช้หาความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล คือ แผนภาพก้างปลา และพิจารณาเลือกสาเหตุในรูปก้างปลาและทำการพิสูจน์ด้วย เครื่องมือที่เหมาะสมต่อไป
5. Study and Review : เปรียบเทียบผล/ปรับแก้/ทบทวนตามข้อกำหนด จะเป็นการกำหนดมาตรการตอบโต้เพื่อการแก้ไขหรือปรับปรุงคุณภาพ คำนึงถึงขบวนการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Kaizen) คือ มาตรการที่คนในกลุ่มคิดได้เอง และมีความสามารถใน การทำได้จริง โดยมีเจตนาต้องการให้คิดเป็น ไม่ต้องใช้เงินมาแก้ไข และต้องมีความมั่นใจว่า วิธีการแก้ไขที่สนใจนั้นสอดคล้องกับสาเหตุหลักของปัญหาจริง
6. Act/Standardization : ทดสอบทำซ้ำ/ติดตามผล/ทำแผน/กำหนดเป็นมาตรฐาน ประเมินผลโดยทำการตรวจสอบประเมินผลการแก้ปัญหา โดยการเก็บข้อมูลของลักษณะจำเพาะตัวเดียวกับที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้แต่แรก แล้วนำเสนอผลการแก้ไขปัญหาออกเป็น 2 ส่วน คือ ผลประโยชน์ที่สามารถวัดเป็นตัวเงิน และผลประโยชน์ที่ไม่สามารถวัดเป็นตัวเงินได้
7. Plans for the future : วางมาตรฐานเพื่อใช้ปฏิบัติ/เป็นข้อมูลเพื่อใช้ในอนาคต เพื่อจุดประสงค์ในการรักษาสภาพของมาตรการตอบโต้ที่ประยุกต์ใช้ไปแล้ว ให้ดำรงไว้ในระบบเพื่อมิให้ปัญหานั้นๆเกิดขึ้นซ้ำอีก
ที่มา: https://www.gotoknow.org/posts/458296
No comments:
Post a Comment