Wednesday, July 8, 2015

ISO 9001





มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ (ISO 9001)


ISO 9001 เป็นมาตรฐานสากลที่องค์กรธุรกิจทั่วโลกให้ความสำคัญ เพื่อความเป็นเลิศทางด้านคุณภาพ และความมีประสิทธิภาพของการดำเนินงานภายในองค์กร

ISO 9001 จึงเป็นระบบบริหารงานคุณภาพตามมาตรฐานสากล แนวคิดสำคัญของ ISO 9001 คือการจัดวางระบบบริหารงานเพื่อการประกันคุณภาพ ซึ่งเป็นระบบที่ทำให้เชื่อมั่นได้ว่ากระบวนการต่าง ๆ ได้รับการควบคุมและสามารถตรวจสอบได้ โดยผ่านระบบที่ระบุขั้นตอนและวิธีการทำงาน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าบุคลากรในองค์กรรู้หน้าที่ความรับผิดชอบและขั้นตอนต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน โดยต้องมีการฝึกอบรมให้ความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน มีการจดบันทึกข้อมูล รวมทั้งการตรวจสอบการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามที่ระบุไว้ในระบบหรือไม่ และมีการแก้ไขข้อผิดพลาดรวมทั้งมีแนวทางในการป้องกันข้อผิดพลาดเดิม

ในปัจจุบันมาตรฐาน ISO 9001 จึงกลายเป็นเงื่อนไขหรือข้อกำหนดทางการค้าในการติดต่อธุรกิจระหว่างประเทศ รวมทั้งเป็นใบเบิกทางไปสู่การค้าในระดับสากล

มาตรฐานที่ใช้ได้กับทุกองค์กร


ISO 9001 เน้นบทบาทของผู้บริหารระดับสูงที่จะต้องให้ความสำคัญกับความต้องการ ความคาดหวังของลูกค้า และผู้ที่เกี่ยวข้อง องค์กรทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรมการผลิตหรือภาคบริการทั้งรัฐและเอกชน สามารถนำระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001 ไปใช้ได้ และไม่มีขีดจำกัดว่าต้องใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีการลงทุนสูงและบุคลากรจำนวนมากเท่านั้น แต่ยังใช้ได้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์และบริการให้เทียบเคียงกับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงได้

ประโยชน์ที่ได้รับภายในองค์กร


  • มีกระบวนการทำงานที่เป็นระบบยิ่งขึ้น
  • มีคุณภาพสินค้าที่ดีขึ้น
  • ช่วยลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากของเสียได้อย่างเป็นรูปธรรม
  • เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานดีขึ้น
  • มีระบบเอกสารที่ดีขึ้น

ประโยชน์ที่ได้รับภายนอกองค์กร


  • ลูกค้าเกิดความมั่นใจในสินค้าและบริการ
  • ก้าวสู่ตลาดต่างประเทศได้ง่าย
  • เพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้า
  • สร้างความสัมพัน์อันดีกับลูกค้ารวมทั้งคู่ค้า
  • เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน


หลักการของการบริหารงานคุณภาพ

 (Quality Management Principle-QMP) 8 ประการ ได้แก่

  • การให้ความสำคัญกับลูกค้า (Customer Focus)
  • ความเป็นผู้นำ (Leadership)
  • การมีส่วนร่วมของบุคลากร (Involvement of People)
  • การบริหารเชิงกระบวนการ (Process Approach)
  • การบริหารที่เป็นระบบ (System Approach)
  • การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continual Improvement)
  • การตัดสินใจบนพื้นฐานความเป็นจริง (Factual Approach to Decision Making)
  • ความสัมพันธ์กับผู้ขายเพื่อประโยชน์ร่วมกัน (Mutually Beneficial Supplier Relationship)

ที่มา : http://www.masci.or.th



No comments:

Post a Comment